Archive for ตุลาคม 2010

งีบหลับแล้วมีพลัง thaihealth   Leave a comment

cosmetic plastic surgery, Updated: 18/08/2010

งีบหลับอย่างมีพลัง

โอยง่วงนอนหมดแรง อยากได้กาแฟ คุณคงเคยมีอาการแบบนี้ใช่มั้ยครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงบ่ายๆ

งีบหลับอย่างมีพลัง

โอย ง่วงนอนหมดแรง อยากได้กาแฟ คุณคงเคยมีอาการแบบนี้ใช่มั้ยครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงบ่ายๆ การทำงานทุกอย่างก็ดูจะน่าเบื่อไปซะหมดเพราะคุณเริ่มง่วง และต้องการกาแฟ หลาย ๆ คนมีนิสัยดื่มกาแฟตลอดวันเพื่อให้สามารถรักษาสติที่แจ่มใสไว้ได้ ถ้าอย่างนั้นฟังทางนี้ครับ! คุณไม่จำเป็นต้องดื่มกาแฟเพื่อที่จะ recharge เจ้า battery ที่อยู่ในสมองของคุณ เพราะเพียงแค่คุณงีบหลับซักพักคุณก็จะสดใส และมีพลังกลับมาทำงานอย่างน่าอัศจรรย์

การงีบหลับกับพลังสมอง

การ งีบหลับทำให้เราสามารถฟื้นฟูสมาธิจิตใจกลับมาแจ่มใสได้ คนที่เคยอดนอน หรือนอนไม่พอหลายคนคงเคยมีประสบการณ์ที่เวลางีบหลับไปแป๊บหนึ่ง เมื่อตื่นขึ้นมารู้สึกสดชื่นอย่างเห็นได้ชัด สมองของเราต้องการที่จะพักผ่อนเพียงแค่หลับซักพักก็สามารถ recharge พลังงานสมองได้มากเพียงพอที่จะทำงานต่อไปได้อย่างมีสติ อย่างไรตามการตั้งเวลานอนตอนกลางคืนอย่างมีประสิทธิภาพย่อมดีกว่าที่จะมางีบ หลบตอนกลางวันอย่างแน่นอน ถ้าหากเราสามารถบริหารการนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพเราก็จะมีสุขภาพจิตที่ดี และสามารถทำงานตอนกลางวันได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

มีการศึกษาพบ ว่าการงีบหลับตอนกลางที่ดีที่สุดจะต้องใช้เวลาประมาณ 20 นาที สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณได้งีบหลับเป็นเวลาเท่านี้ ก็คือสมองของคุณจะสามารถใช้พลังความคิดสร้างสรรค์ และความทรงจำได้ดีขึ้นซึ่งเป็นผลสรุปจากการค้นคว้าวิจัย ที่จริงแล้วสมองของเราจะมีคลื่นสมองที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งคลื่นความถี่ต่ำจะเป็นการแสดงถึงว่าสมองเรากำลังพักผ่อนได้เต็มที่ ดังนั้นการงีบหลับเวลาสั้น ๆ หรือแค่ 20 นาทีแต่ถ้าคลื่นสมองของคุณขณะงีบหลับอยู่ที่คลื่นความถี่ต่ำ คุณก็จะหลับสนิทและอาจเรียกได้ว่าเป็นการนอนที่มีประสิทธิภาพ และอาจถึงขั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการนอนตอนกลางคืนที่สมองไม่ได้อยู่ใน คลื่นความถี่ที่เหมาะสมด้วยซ้ำไป

เลิกดื่มกาแฟ ?

ถ้า อย่างนั้นเราจะเปลี่ยนการดื่มกาแฟที่ออฟฟิศ มาเป็นการนอนกลางวันกันดีมั้ยครับ? อันที่จริงแล้วการงีบหลับซักพักย่อมต้องดีกว่าการกินกาแฟที่มีคาเฟอีน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้หากกินทุกวัน วันละมาก ๆ ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี มีผลการศึกษาค้นพบว่าคาเฟอีนทำให้ความสามารถในการจดจำสิ่งต่าง ๆ ของสมองลดลง แต่จะให้เปลี่ยนมานอนกลางวันกันทั้งออฟฟิศก็คงไม่สามารถทำได้เช่นกัน ดังนั้นเราจำเป็นต้องเริ่มให้ความสนใจต่อการนอนตอนกลางคืนอย่างมี ประสิทธิภาพ คือให้สมองได้พักผ่อนเต็มที่ โดนพยายามนอนเป็นเวลาเดิมทุก ๆ วันเพื่อให้ร่างกายและสมองปรับตัว ถ้าเราทำอะไรซ้ำ ๆ เป็นประจำทุก ๆ วันร่างกายจะเกิดความเคยชิน และทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าไม่ไหวจริง ๆ การแอบงีบหลับซักแป๊บนึงที่ออฟฟิศก็ย่อมดีกว่าอัดกาแฟหลาย ๆ แก้วเพื่อให้ตื่น เพราะทำแบบนั้นยิ่งทำให้สมองอ่อนล้า และมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง คงไม่ดีแน่ถ้าผลการทำงานออกมาไม่ดี หรือออกมาผิดพลาดจนบริษัทต้องเสียเงินหลายล้านบาท!

เทคนิคการงีบหลับ!

การ งีบหลับทำให้ลดความเครียด และช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจได้ด้วย ซึ่งมีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจังที่ Harvard School of Publich Health แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา และที่ University of Athens Medical School แห่งประเทศกรีซ

อย่างที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้นว่าการ บริหารการนอนตอนกลางคืนย่อมดีกว่าการมางีบหลับในที่ทำงาน แต่ถ้าไม่ไหวจริง ๆ เรามีเทคนิคบางอย่างเกี่ยวกับการงีบหลับเพื่อที่จะให้ได้ผลลัพธิ์จาการงีบ หลับระยะเวลาสั้น ๆ แต่สามารถ recharge พลังสมองของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำแนะนำข้างล่างนี้จะช่วยคุณได้ครับ

– การงีบหลับที่ดีควรตั้งตารางเวลาเป็นประจำ เช่นจำงีบเป็นเวลา 20 นาทีทุก ๆ บ่ายโมง เป็นต้น เพื่อให้สมองได้ทำความคุ้นเคย และสามารถ recharge พลังงานได้อย่างที่ดีสุด ซึ่งจากการศึกษาเวลางีบหลับช่วงกลางวันที่ดีที่สุดคือบ่ายหนึ่งโมง ถึงบ่ายสามโมง

– ควรตั้งเวลาปลุกไว้ชัดเจนเป็นเวลา 20 นาที ไม่ใช่รอให้ตื่นเอง การทำแบบนี้จะทำให้ร่างกายปรับตัว และตื่นขึ้นมาอย่างไม่งัวเงีย แต่สดชื่นแจ่มใสเต็มที่

– ควรงีบหลับในสถานที่ที่มืด และควรมีที่ปิดตาเพื่อป้องกันแสง และสิ่งรบกวนต่าง ๆ ที่จะเข้ามารบกวนคุณได้ การงีบหลับที่ดีจะต้องหลับลึก และปราศจากสิ่งรบกวน

– อยู่ในอุณหภมูที่เหมาะสม การงีบหลับในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวอาจทำให้คุณตื่นขึ้นมารู้สึกอ่อนเพลีย ยิ่งกว่าเดิมได้ เนื่องสูญเสียเหงื่อ หรือถ้าอากาศเย็นเกินไปก็จะทำให้รู้สึกขี้เกียจไม่อยากตื่น และสูญเสียความตื่นตัวได้นั่นเอง

ลิขสิทธิบทความของ sp-cosmeticsurgery.com

ผู้ให้บริการ Cosmetic Surgery Thailand

(ห้ามเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาติอย่างเป็นทางการ)

ที่มาข้อมูล : http://www.sp-cosmeticsurgery.com

อาการปวดหัว thaihealth   Leave a comment

ปวดศีรษะ

เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดศีรษะเกิดจากปวดจากความตึงเครียด (tension-type headache) และไมเกรน
ไมเกรน
ไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจาก Tension-type headache พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า มีอาการปวดศีรษะรุนแรง มักปวดซีกใดซีกหนึ่งของศีรษะ หรืออาจปวดทั้ง 2 ซีกก็ได้ ร่วมกับอาการทางระบบประสาท มักเริ่มเป็นครั้งแรกในวัยแรกรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว พบบ่อยในหญิงวัยเจริญพันธุ์และมักจะมีอาการก่อนมีประจำเดือน อาการน้อยลงในวัยหมดประจำเดือน อุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม ลักษณะอาการมีได้ 2 แบบ ซึ่งอาจมีอาการแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้ง 2 แบบ (33%) ก็ได้

  • Common migraine (migraine without aura) เป็นไมเกรนชนิดที่ไม่มีอาการเตือน พบราว 75% ของผู้ที่ปวดศีรษะทั้งหมด มีอาการดังนี้
    • ปวด ศีรษะตุ้บๆ มักเป็นซีกใดซีกหนึ่ง หรือปวดทั้ง 2 ซีก ค่อยๆ ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษา อาจปวดเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน (4-72 ชั่วโมง) อาการปวดเป็นมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นด้วยการเคลื่อนไหว แสง หรือเสียง
    • คลื่นไส้ อาเจียน
    • กลัวแสง (photophobia)
    • กลัวเสียง (phonophobia)
  • Classic migraine (migraine with aura) เป็นไมเกรนที่มีอาการเตือน พบราว 33% ของทั้งหมด มีอาการดังนี้
    • อาการ เตือน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เห็นแสงวูบวาบ การมองเห็นผิดปกติ ได้ยินเสียง หรือได้กลิ่นแปลกๆ เวียนศีรษะ ชาซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย อาการเหล่านี้มักจะเกิดก่อนปวดศีรษะประมาณ 5-60 นาที และจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นใน 4-60 นาที
    • ปวดศีรษะแบบเดียวกับ common migraine แต่เฉียบพลันกว่า อาจปวดพร้อมอาการเตือนหรือภายใน 60 นาทีหลังอาการเตือน มักปวดนาน 2-6 ชั่วโมง และทุเลาหลังนอนพักผ่อน
    • ไวต่อแสง (sensitivity to light)
    • อ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย (พบน้อย)

สาเหตุ

  • ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่การปวดศีรษะเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือด ซึ่งกระตุ้นปลายประสาทที่ผนังหลอดเลือด

สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ

  • ความ ตึงเครียด เช่น ความโกรธ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ การทำงานหรือออกแรงหักโหมจนเกินกำลัง (over exertion) การเดินทางไกล การออกกำลังกายหนัก
  • อาหาร เครื่องดื่ม หรือเครื่องปรุงบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ เนยแข็ง ช็อกโกเลต อาหารที่มีไขมัน หรือ tyramine สูง หัวหอม ผงชูรส สารไนเตรท ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะเขือเทศ
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม
  • อุบัติเหตุที่ศีรษะ
  • แสงจ้า หรือเสียงดัง
  • การอดอาหารและความหิว
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การมีประจำเดือน กินยาคุมกำเนิด

การดูแลตนเอง

  • นอนในห้องที่มืดและเงียบสงบ
  • ประคบเย็นบริเวณที่ปวด
  • อาบน้ำเย็น
  • กินยาแก้ปวดเมื่อเริ่มมีอาการ
  • หาสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นให้ปวดศีรษะและหลีกเลี่ยงเสีย
  • หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์

การรักษาโดยแพทย์

  • ตรวจหาโรครุนแรงอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะ
  • ให้ยาแก้ปวดชนิดที่ออกฤทธิ์แรงขึ้น
  • อาจต้องให้ยาเฉพาะสำหรับไมเกรน
  • ให้ยาแก้อาเจียน
  • ให้ยาป้องกันหากเป็นบ่อยจนรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน
    การป้องกัน หลีกเลี่ยงสาเหตุที่กระตุ้นอาการปวดศีรษะ

    ปวดศีรษะจากความตึงเครียด (Tension-type headache)
    อาการ ปวดศีรษะจากความตึงเครียดนั้นเกิดจากการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ (muscle contraction) เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด ต่างจากไมเกรนคือมักปวดทั่วๆ ศีรษะ ปวดตื้อๆ แน่นๆ เหมือนถูกบีบรัด เป็นได้ทุกวันและไม่ถูกกระตุ้นด้วยการเคลื่อนไหว ไม่กลัวแสงหรือเสียง มักไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีเพียงเล็กน้อย มักมีอาการช่วงบ่าย มีความสัมพันธ์กับความเครียด อาจปวดเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันก็ได้ เป็นได้ในทุกอายุ แต่มักเริ่มเป็นตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยหนุ่มสาว อาจพบปวดศีรษะทั้ง 2 ชนิด คือไมเกรนและความตึงเครียด ในคนเดียวกันก็ได้

อาการ

  • ปวดตื้อๆ แน่นๆ คล้ายถูกบีบรัด บริเวณขมับ กระหม่อม ท้ายทอย ต้นคอ
  • ปวดที่หนังศีรษะและกล้ามเนื้อต้นคอ

สาเหตุ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าสิ่งกระตุ้นอาการปวดศีรษะมีดังนี้

  • ความตึงเครียด เช่น ความโกรธ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ ทำงานหรือออกแรงหักโหมเกินกำลัง (over exertion)
  • อยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสม (poor posture) เป็นเวลานาน
  • ภาวะซึมเศร้า
  • อดนอน
  • กล้ามเนื้อตาล้า (eye strain)

การดูแลตนเอง

  • ประคบเย็นบริเวณที่ปวด
  • อาบน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น
  • นวดบริเวณศีรษะ ต้นคอ หัวไหล่
  • ออกกำลังกายชนิดผ่อนคลาย (relaxation exercises) ด้วยวิธียืดและคลายกล้ามเนื้อ (stretching exercises) เช่น กายบริหาร มวยจีน โยคะ
  • ลดหรือหยุดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า สวมแว่นกันแดดเมื่อออกแดด
  • กินยาแก้ปวด

ปรึกษาแพทย์ ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานานและปวดบ่อยๆ
  • ปวด ศีรษะร่วมกับมีไข้ คอแข็งก้มไม่ลง (อาจเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ) แขน ขา ชาหรืออ่อนแรง การมองเห็นหรือการพูดผิดปกติ (อาจเป็นโรคหลอดเลือดสมอง)
  • ออกแรงเพียงเล็กน้อยก็มีอาการปวดศีรษะ

การรักษาโดยแพทย์

  • แยกโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะออกไปก่อน
  • ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • ให้ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์แรงขึ้น

การป้องกัน

  • ฝึก ผ่อนคลาย เช่น ทำสมาธิ ออกกำลังกายด้วยวิธียืดและคลายกล้ามเนื้อ (stretching exercises) ซึ่งสามารถทำได้ในที่ทำงาน เช่น กายบริหาร
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงสภาวะที่ทำให้เครียด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (เช่น ชา กาแฟ)
  • หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน พยายามอยู่ในร่มในวันที่แดดแรง สวมแว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกแดด

    นอกจากนี้ยังพบการปวดศีรษะที่เรียกว่า Analgesic headache คืออาการปวดศีรษะที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดหรือยารักษาไมเกรนที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะยากลุ่ม ergot derivative ที่มีสาร caffeine ผสมอยู่ ผู้ที่กินยาแก้ปวดขนาดต่ำๆ ทุกวัน มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่กินขนาดสูงแต่ไม่บ่อย มักพบในผู้ที่ซื้อยาแก้ปวดที่ผสม caffeine กินเองและกินถี่กว่า สัปดาห์ละ 1-2 วัน

อาการ

  • ปวดศีรษะที่มีความถี่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รูปแบบของการปวดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ปวดศีรษะสลับกันระหว่างไมเกรนและที่เกิดจากยาแก้ปวด
  • ปวดศีรษะเกิน 15 วันต่อเดือน และปวดนานเกิน 4 ชั่วโมงต่อครั้งถ้าไม่รักษา
  • ต้องกินยาแก้ปวดแทบทุกวัน เพื่อระงับการปวดที่ไม่ได้เกิดจากไมเกรน

การป้องกัน

  • ไม่กินยาแก้ปวดเกินเดือนละ 15 วัน
    การรักษา
  • หยุดยาแก้ปวดทั้งหมด (หลังหยุดยา 2-3 สัปดาห์ อาการปวดก็จะลดลงชัดเจน)
  • เปลี่ยนเป็นยาแก้ปวดขนานอื่น โดยปรึกษาแพทย์

ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today

Posted 10/27/2010 by thaiamulets in มุมสุขภาพ

ต้องป่วยเพราะงาน คุ้มใหม thaihealth   Leave a comment

ข้อมูลโดย : นิตยสาร Health Today, Updated: 28/01/2008

คุ้มไหม…ถ้าต้องป่วยเพราะงาน

จะ แย่สักแค่ไหน หากว่าการทำงานนั่งโต๊ะในสำนักงาน(ซึ่งดูเหมือนเป็นงานแสนสบายในสายตาของบาง คนที่ต้องใช้แรงงานหรือทำงานภาคสนาม) นั้นกลับกลายเป็นที่มาของโรคภัยไข้เจ็บสารพัดโรค

วัย ทำงานเป็นช่วงเวลาหนึ่งในชีวิตที่เรามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์พร้อมต่อการทำ งานหนัก เพื่อเก็บสะสมเงินทองเอาไว้ใช้ในเวลาที่กำลังวังชาถดถอย โดยเฉพาะคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง เป็นคนทำงานซึ่งมีวิถีชีวิตตั้งแต่เช้ายันค่ำนั่งจมจ่อมกับงานบนโต๊ะ ยิ่งสมัยนี้คอมพิวเตอร์กลายเป็นอุปกรณ์สำนักงานที่ขาดแทบไม่ได้แล้ว ทำให้หลายๆ คนต้องทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

แต่ ….ฟังดูก็รู้ว่าคงไม่สนุกแน่ๆ จริงไหมครับ ลองนึกๆ ดูว่าถ้าเราใช้เวลาวันละ(อย่างน้อย) 8 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ นั่งอยู่กับโต๊ะทำงาน สายตาจับจ้องไปที่คอมพิวเตอร์เกือบตลอดเวลา จะเกิดอะไรขึ้นกับสุขภาพของเราบ้าง…

คุ้มไหม...ถ้าต้องป่วยเพราะงาน

แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกได้ตั้งข้อสังเกตถึงสาเหตุของการเจ็บไข้ได้ป่วยจาก การทำงานนั่งโต๊ะ ว่าคนที่ทำงานลักษณะนี้เป็นเวลานานติดต่อกันสัก 1-2 ปีมักจะเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน (รู้จักกันในชื่อว่า CTD หรือ cumulative trauma disorder หรือ RSI – repetitive strain injury) ซึ่งเกิดจากน้ำหนักที่กดทับจากการนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน กล้ามเนื้อ เอ็น และประสาท เกิดการระคายเคืองหรืออักเสบ อาการที่ปรากฏอย่างเช่น การปวดเมื่อยเอว หลัง เคล็ดขัดยอก หรือเจ็บปวดที่ข้อมือ นิ้ว แขน คอ หรือไหล่

สาเหตุหลักของอาการปวดที่ว่านั้นมักจะเกิดจาก อิริยาบถที่ผิดสุขลักษณะ หรือการเคลื่อนไหวต่อเนื่องซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ อย่างเช่นการกดแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ท่านั่งทำงานที่ผิดหลัก อาการเริ่มต้นตั้งแต่ อ่อนล้า ชา ปวดบริเวณกล้ามเนื้อที่ใช้งาน ซึ่งช่วงแรกจะหายได้เมื่อหยุดทำกิจกรรมนั้น แต่ในเวลาต่อมาหากยังไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง อาการก็อาจเป็นมากขึ้น เพียงแค่พักผ่อนอย่างเดียวก็ไม่หายแล้วคราวนี้ ต้องทำการรักษาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เช่น โปะด้วยถุงน้ำแข็ง ทำกายภาพบำบัด หรือรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เป็น ทั้งที่จริงๆ แล้วการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้ออย่างนี้ป้องกันได้ไม่ยากเลย เพียงฝึกนั่ง ยืน ให้ถูกท่า หากนั่งนานๆ ก็ลุกขึ้นมาเปลี่ยนอิริยาบถ เคลื่อนไหว เดินเล่นยืดเส้นยืดสายเสียบ้างทุกๆ ชั่วโมง และจัดพื้นที่ทำงานใหม่ให้เอื้อมหยิบสิ่งของต่างๆ ง่ายขึ้น ลดการยืดเกร็งกล้ามเนื้อของเราให้น้อยที่สุด นอกจากการยืดเส้นยืดสายแล้ว การดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยหนึ่งแก้ว ทุกๆ 1-2 ชั่วโมงก็จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับร่างกาย ลดความอ่อนล้า ทำให้คุณทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น

พักสายตา
คง ไม่ต้องบอกว่าดวงตาสำคัญต่อเราอย่างไรนะครับ ปัจจุบันมีคนมีปัญหาด้านสายตาจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นมาก ส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่สายตาต้องต่อสู้กับแสงจากหน้าจอเป็นเวลานานโดยไม่ ได้พัก ผสานกับอากาศที่มีความชื้นต่ำจากเครื่องปรับอากาศในสำนักงาน ทำให้เกิดอาการเช่น ตาแห้ง แสบตา มองเห็นเป็นภาพเบลอ ตาพร่า หรือปวดหัวได้ คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านตาแนะนำว่า คนที่ทำงานในสำนักงานควรได้รับการตรวจดวงตา และทดสอบสายตาอย่างน้อยปีละครั้ง โดยเฉพาะคนที่มีอาการตาพร่าบ่อยๆ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการหักเหของแสงของสายตา สำหรับคนที่ต้องใช้สายตาหน้าคอมพิวเตอร์นานเป็นพิเศษ เช่น นักเขียน นักออกแบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมเมอร์ รวมถึงคนวัย 40 ขึ้นไปทั้งหลายที่สายตาอาจเริ่มเปลี่ยน ก็ควรเล่าให้คุณหมอฟังถึงกิจกรรมที่คุณทำ ระยะเวลาที่คุณใช้หน้าคอมพิวเตอร์ การจัดสถานที่ทำงาน เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไข หรือป้องกันปัญหาเกี่ยวกับสายตา เพราะเดี๋ยวนี้มีแว่นที่มีเลนส์เฉพาะสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ให้ใช้กัน แล้ว แว่นตาชนิดเลนส์มัลติโค้ทก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดแสงสะท้อนและรังสี UV ที่เข้าตา

สำหรับสำนักงานที่ใช้เครื่องปรับอากาศ อากาศค่อนข้างแห้ง ก็ควรหาถ้วยใส่น้ำวางไว้บริเวณหน้าต่าง ให้น้ำระเหยเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ก็จะช่วยลดอาการตาแห้งได้

ห้องปรับอากาศ สะสมโรค???
เพราะ อากาศร้อนๆ อย่างเมืองไทย เครื่องปรับอากาศจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบ้านและอาคารสำนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตึกสูงล้วนแต่ใช้เครื่องปรับอากาศเป็นตัวช่วยหมุนเวียน อากาศแบบรีไซเคิล และส่วนใหญ่มักจะสงวนพลังงานไม่ให้รั่วไหลออกไปภายนอกด้วยการปิดประตู หน้าต่างแน่นหนา ถ้าหากเจ้าระบบกลไกหรือแผ่นกรองของเครื่องปรับอากาศมันเกิดทำงานได้ไม่เต็ม ประสิทธิภาพ ไหนจะควันรถจากถนน ฝุ่นละอองในอากาศ ไปจนถึงสารพิษ ไอระเหยของหมึกจากเครื่องพิมพ์ หรือเครื่องถ่ายเอกสาร อากาศที่คนจำนวนมากๆ หายใจร่วมกัน จะมีผลต่อคนที่อยู่ในอาคารอย่างไร ทั้งหมดนี้รวมกันแล้วล้วนเป็นสาเหตุของ กลุ่มอาการป่วยจากอาคาร (Sick building syndrome – SBS) ได้ทั้งสิ้น

กลุ่มอาการชื่อแปลกนี้ เป็นที่รับรู้ขององค์การอนามัยโลกมาตั้งแต่ปี 2525 แต่แม้เวลาจะผ่านมากว่า 20 ปีแล้วคนก็ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่คนนับล้านๆ คนทั่วโลกต้องผจญกับอาการเหล่านี้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน โดยมีอาการเช่น ความรู้สึกเหนื่อยล้า ปวดหัว มึนงง คัดจมูก เป็นภูมิแพ้ ความสนใจต่อสิ่งต่างๆ ลดลง และมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ทีมงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ (NUS) ร่วมกับ กระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่คนใช้ชีวิตอยู่บนอาคารสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก พบว่าชาวสิงคโปร์ อย่างน้อย 1 ใน 5 ต้องผจญกับกลุ่มอาการ SBS นี้ ทีมวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าไม่เพียงเรื่องคุณภาพอากาศภายในอาคารเท่านั้น แต่ความเครียดจากงาน แสงสว่างที่มากหรือน้อยไปในอาคาร การควบคุมอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ล้วนแต่เป็นชนวนให้เกิดกลุ่มอาการดังกล่าวได้ทั้งสิ้น

ทีม ศึกษาจาก รพ.เบอร์มิงแฮม ฮาร์ทแลนด์ ในประเทศอังกฤษ ก็ออกมายืนยันถึงความซับซ้อนของอาการป่วยเดียวกันนี้ และสรุปเพิ่มเติมว่า กลุ่มอาการปวดหัว วิงเวียน แบบ SBS ที่ว่านี้มักเกิดมากในผู้หญิง โดยเฉพาะพวกที่ทำงานในตำแหน่งระดับล่างๆ มีเจ้านายสั่งงานหลายชั้น และพวกที่พกพาความเครียดตลอดการทำงานทั้งวัน จะยิ่งเป็นกันมาก แม้จะยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดแต่ก็พอเข้าใจได้ว่า สาเหตุทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ และจิตวิทยา รวมๆ แล้วเป็นที่มาของกลุ่มอาการ SBS วิธีป้องกันและแก้ไขที่ดีที่สุดก็คงจะต้องเพิ่มความใส่ใจกับคุณภาพอากาศ คุณภาพเครื่องปรับอากาศ การรักษาอุณหภูมิในสำนักงาน และรักษาบรรยากาศการทำงานให้มีเสียงหัวเราะกันมากขึ้นครับ

ความเครียดจากงาน
เรื่อง ของความเครียดนั้นเป็นเรื่องที่คนทำงานทุกคนมักหนีไม่พ้น ไม่ว่าจะงานหนัก งานโหลด รู้สึกว่าถูกกดดัน ไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่มีเพื่อน ไม่ได้ใช้ความสามารถเต็มที่ ควบคุมงานไม่ได้ ความสามารถไม่ตรงกับงานที่ทำ การไม่มีเวลาให้กับงานที่รับผิดชอบเต็มที่เพราะอาจทำหลายอย่างพร้อมกัน เบื่อเพื่อนร่วมงาน เงินเดือนต่ำ งานซ้ำซาก ฯลฯ ต่างเป็นชนวนความเครียดหลักๆ ยังไม่นับปัญหารถติดที่สร้างความเครียดให้กับหลายคนก่อนถึงที่ทำงานด้วยซ้ำ คนที่ไม่รู้จักหาวิธีผ่อนคลาย ปล่อยตัวเองจมอยู่กับความเครียดมากๆ นั้นจะส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ ทั้งปวดหัว เหนื่อยอ่อน นอนไม่หลับ ไปจนถึงเป็นไข้ ไอ รวมทั้งปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น คอ และหลัง ยิ่งใครที่สะสมความเครียดไว้นานๆ ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว นำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บมากมายตามมาได้ด้วย อย่างเช่น โรคหัวใจ หลอดเลือด ความดันเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ล้วนแต่ทำให้อายุสั้นแทบทั้งสิ้น

เมื่อ รู้อย่างนี้แล้ว ทางป้องกันก็คือ พาตัวเองให้พ้นจากความเครียด ด้วยการหาทางผ่อนคลายวิธีต่างๆ การพักผ่อนที่เพียงพอ ทบทวนตัวเองว่าบกพร่องหรือมีจุดควรปรับปรุงหรือไม่ตรงไหน แล้วจัดระบบการทำงานใหม่ และแบ่งเวลาให้เป็น กินอาหารที่มีประโยชน์ อยู่ในที่ที่อากาศปลอดโปร่งถ่ายเทดี มีความชุ่มชื้นพอสมควร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ต่างเป็นอาวุธสำคัญที่ทำให้เราสามารถป้องกันโรคภัยไข้เจ็บจากการทำงานได้

ล้างมือให้สะอาด ลดเชื้อโรคไปกว่าครึ่ง
ช่วง ที่โรคซาร์สระบาดหนักๆ ในประเทศใกล้บ้านเราอย่างฮ่องกง หรือสิงคโปร์ ทางหน่วยงานสาธารณสุขแทบทุกแห่งต่างออกมาเตือนเรื่องการใส่ใจต่อสุขลักษณะ ส่วนบุคคลอย่างการล้างมือให้สะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอยู่ร่วมกับคนจำนวนมากในสำนักงานการล้างมือเป็นวิธีการ ป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง เพราะหากลองสังเกตกันอย่างจริงจัง จะพบว่าในชั่วโมงหนึ่งๆ คนๆ หนึ่งจะใช้มือสัมผัสตามใบหน้าของตัวเองบ่อยมากแบบไม่รู้ตัว ซึ่งมีโอกาสที่เชื้อโรคจากละอองอากาศต่างๆ หรือที่มือไปสัมผัสมามีโอกาสถ่ายทอดเข้าสู่ร่างกายทางจมูกหรือปากได้ง่ายมาก ดังนั้นเพียงแค่คุณหมั่นล้างมือด้วยสบู่แล้วเช็ดด้วยผ้าหรือเป่าแห้งให้ สะอาดเป็นประจำ และทุกครั้งหลังการใช้ห้องน้ำ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคหวัด หรือการติดเชื้อในทางเดินอาหาร การติดเชื้อทางผิวหนัง เช่น เชื้อรา โรคหิด โรคหูด ฯลฯ ได้มาก คุณจะเชื่อหรือไม่ล่ะครับ

ก่อนจากกันเรามี ข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากท่านั่งทำงานที่ผิดๆ มาฝากกันทิ้งท้าย ชวนคุณๆ ลองสำรวจตัวเองแล้วปรับเปลี่ยนท่าทางหรือสภาพแวดล้อมเพื่อสุขลักษณะที่ดี กว่าเดิมนะครับ

  • เก้าอี้นั่งควรอยู่ในระดับพอดี ที่ คุณสามารถนั่งแล้ววางเท้าราบกับพื้น โดยให้หัวเข่าตั้งฉาก 90 องศา หากใครที่เท้าไม่ถึงพื้น ก็ควรที่วางเท้ามารองรับใต้โต๊ะให้พอดี และเมื่อนั่งแล้ว ควรนั่งให้เต็มเบาะ และขอบหน้าของเบาะที่นั่งควรห่างจากหลังน่องประมาณ 2 นิ้ว
  • ระหว่างทำงานควรมีการหยุดพักเพื่อยืดเส้นยืดสายบ้าง เริ่มจาก กำมือ แล้วหมุนข้อมือเป็นวงกลมทวนเข็มนาฬิกา – ตามเข็มนาฬิกา อย่างละประมาณ 10 ครั้ง แล้วทำท่าพนมมือ ประสานมือเข้าด้วยกันบีบแน่นๆ ประมาณ 10 วินาที แล้วเปลี่ยนเป็นใช้หลังมือพนม ประสานมือพลิกให้ปลายนิ้วอยู่ด้านล่าง บีบแน่นๆ ประมาณ 10 วินาที จากนั้นกางนิ้วออกกว้างๆ แล้วบรรจบนิ้วแต่ละนิ้วเข้าด้วยกัน ซ้าย-ขวา
  • การถือโทรศัพท์ ควรใช้มือ หรือหากมือไม่ว่างก็ควรใช้สปีคเกอร์โฟน (ลำโพง) ให้เป็นประโยชน์แทน ไม่ควรใช้วิธีเอียงคอหนีบหูโทรศัพท์ไว้กับหัวไหล่เพราะมีโอกาสทำให้ข้อต่อ บริเวณนั้นเกิดบาดเจ็บได้ง่าย
  • หยุดพักงานที่ทำเป็นระยะๆ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ หรือเปลี่ยนไปทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ แทนบ้าง
  • จัดโต๊ะทำงานใหม่ ให้หยิบฉวยอะไรที่ใช้บ่อยๆ ได้ง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องเอื้อมหยิบ หรือยืดเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อหยิบของระยะไกลๆ ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับที่กลางจอภาพอยู่ในแนวตรงพอดีกับปลาย คาง จะเป็นระดับที่พอเหมาะกับสายตา และทำให้คอของเราตั้งอยู่ในระดับตรงพอดีที่สุดที่มา : สมาคมกระดูกและข้อแห่งสหรัฐอเมริกา

ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today

Posted 10/27/2010 by thaiamulets in มุมสุขภาพ

ดนตรีบอกบุคลิกภาพคุณ thaihealth   Leave a comment

ข้อมูลโดย : นิตยสาร Health Today, Updated: 06/03/2008

ฟังดนตรีบอกบุคลิกภาพ

รูป แบบการฟังดนตรีของคนนั้นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับบุคลิกภาพของเขา ในงานวิจัยได้แบ่งประเภทของดนตรีออกเป็น 4 กลุ่มตามระดับอารมณ์

ฟังดนตรีบอกบุคลิกภาพ

ใคร ที่สนใจเรื่องของดนตรี เมื่อเร็วๆ นี้ในเว็บไซต์สุขภาพของต่างประเทศ WebMD มีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งเผยแพร่ออกมา ว่าด้วยบุคลิกภาพ ความสนใจ และวิธีการมองโลกมองชีวิตของคนเรานั้น สามารถสะท้อนออกมาได้จากดนตรีที่เขาฟัง เป็นอย่างไรต้องลองติดตามดู
จากงานวิจัยของ ปีเตอร์ เจ.เรนโฟรว์ และ แซมมวล ดี. โกสลิง จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส เมืองออสติน ที่ตีพิมพ์ในวารสารสรุปงานวิจัยว่าด้วยจิตวิทยาสังคมและบุคลิกภาพ ฉบับเดือนมิถุนายน ปีนี้ เขาและคณะได้ทำการวิเคราะห์รสนิยมการฟังดนตรีของคน 3,500 คน และพบว่ารูปแบบการฟังดนตรีของคนนั้นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับบุคลิกภาพ ของเขา ในงานวิจัยได้แบ่งประเภทของดนตรีออกเป็น 4 กลุ่มตามระดับของอารมณ์ ความซับซ้อน และพลังที่แสดงออกมาในดนตรีแต่ละประเภท ได้แก่

1. การไตร่ตรอง และความคิดซับซ้อน ได้แก่ กลุ่มดนตรีประเภทคลาสสิค แจ๊ซ บลูส์ และโฟล์ค
2. อารมณ์รุนแรง รั้น ขวางโลก มีแนวโน้มชอบก่อการทะเลาะวิวาท ได้แก่ กลุ่มดนตรีประเภทอัลเทอร์เนทีฟ ร็อค และเฮฟวี่เมทัล
3. ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมแบบแผน ได้แก่ กลุ่มดนตรีประเภทป๊อป เพลงศาสนา ลูกทุ่ง คันทรี่ และเพลงประกอบภาพยนตร์/ละคร
4. กระปรี้กระเปร่า เน้นจังหวะ ได้แก่ กลุ่มดนตรีประเภทแร๊ป ฮิปฮ็อป โซล ฟังค์ ดนตรีเต้นรำ หรือดนตรีประเภทที่ใช้อิเล็คโทรนิคส์ เทคโนแดนซ์ต่างๆ

ผลวิเคราะห์ออกมาว่า คนที่ชอบฟังดนตรีแต่ละประเภทเหล่านี้ จะสัมพันธ์กับบุคลิกภาพ การรับรู้เกี่ยวกับตัวเอง ความสามารถในการเข้าใจ รวมทั้งความคิดและสติปัญญา ในแนวทางที่สอดคล้องกับลักษณะเพลง อย่างเช่น

คนที่ชอบฟังเพลงคลาสสิค หรือเพลงประเภทอื่นที่จัดอยู่ในกลุ่มไตร่ตรองและซับซ้อน มีแนวโน้มจะเป็นคนที่เปิดรับต่อประสบการณ์ใหม่ๆ ฉลาด ช่างคิด มีเหตุผล สุขุม ใจเปิดกว้าง ไม่คิดเล็กคิดน้อย และไม่ค่อยแสดงออกในเชิงกีฬา

คนที่ชอบฟังเพลงพวกเฮฟวี่เมทัล หรือเพลงที่รุนแรง มีแนวโน้มเป็นคนเปิดรับประสบการณ์แปลกใหม่ คิดว่าตัวเองเป็นคนมีความคิด และอยากรู้อยากเห็นในสิ่งแปลกและแตกต่าง ชอบเสี่ยง กระตือรือร้น

คนที่ชอบเพลงป๊อป เพลงประกอบละคร/ภาพยนตร์ เพลงศาสนา พวกนี้จะเป็นคนที่สดใสร่าเริง ชอบออกสังคม ชอบช่วยผู้อื่น และมองตนเองว่าเป็นคนสวย หล่อ หรือน่าสนใจ และค่อนข้างจะมีระเบียบแบบแผนตามสังคม

ขณะที่แฟนเพลงแร๊ป หรือเพลงประเภทเน้นจังหวะตามเสียงกลองต่างๆ มีแนวโน้มจะเป็นคนพูดเก่ง มีพลังในตัวเองเหลือเฟือ ให้อภัยคนอื่น และไม่ค่อยยึดติดกับแบบแผนเท่าไรนัก

ฟังอย่างนี้แล้ว ลองสังเกตคนข้างตัวคุณว่าเขาชอบฟังเพลงแบบไหน อย่างน้อยคงพอสะท้อนให้เห็นบุคลิกตัวตนจริงๆ ของเขาให้คุณเดาใจได้นะคะ

ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today

Posted 10/27/2010 by thaiamulets in มุมสุขภาพ

ความลับเรื่องการนอน thaihealth   Leave a comment

ข้อมูลโดย : นิตยสาร Health Today, Updated: 10/03/2008

รู้จริงเรื่องการนอน

ถ้า คุณมีอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือง่วงหลับประจำตอนกลางวัน สาเหตุใดที่เป็นปัญหาที่กวนใจแท้จริง และปัญหาใดเป็นความเชื่อผิดๆ กันแน่

รู้จริงเรื่องการนอน

เป็น ที่ทราบกันทั่วไปว่าวิธีพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะหลับสบายยามหัวถึงหมอน หรือหลับได้ทุกที่ทุกสถานการณ์ การนอนสำคัญและเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ มากกว่าที่คุณคิด
ความเชื่อ : ขณะนอนหลับพักผ่อน ร่างกายกับสมองจะหยุดพักไปด้วย
ข้อเท็จจริง : ในขณะหลับร่างกายจะหยุดพักผ่อนตามไปด้วย แต่สมองยังคงทำงานอยู่ การนอนหลับเป็นการลดภาระให้สมองทำงานเบาลง เสมือนว่าได้รับการชาร์ตแบตเตอรีเพื่อเตรียมพร้อมทำงานในวันต่อไป แต่ก็ยังคงต้องควบคุมการทำงานอวัยวะต่างๆ ของร่างกายอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบหายใจ ระบบประสาท ฯลฯ

ความเชื่อ : ผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องนอนมาก
ข้อเท็จจริง : ไม่จริง ผู้สูงอายุต้องการนอนหลับพักผ่อนประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน เช่นเดียวกับคนวัยหนุ่มสาวทั่วไป ทั้งนี้อายุที่มากขึ้น ประกอบกับการทำงานของอวัยวะในร่างกายเริ่มเสื่อมไปตามเวลา ทำให้กิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลทำให้พฤติกรรมการนอนไม่เหมือนเดิม นอนหลับได้น้อยชั่วโมงลง หรือหลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน แต่ไม่ว่านอนหลับได้ไม่เต็มอิ่มอย่างไร ร่างกายก็ยังคงต้องการเวลาพักผ่อนให้ได้ 7-9 ชั่วโมง

ความเชื่อ : การนอนหลับพักผ่อนน้อยเป็นประจำ ร่างกายจะชินและไม่ต้องการนอนมากอย่างที่เคย
ข้อเท็จจริง : ไม่จริง เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการนอนว่า ในวัยผู้ใหญ่หากนอนให้ได้ประมาณ 7-9 ชั่วโมงทุกวัน จะส่งผลให้สุขภาพร่างกายโดยรวมดีอย่างน่าทึ่ง หากวันไหนนอนหลับได้ไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะชดเชยชั่วโมงนอนที่ขาดรวมกับชั่วโมงนอนในอีก 2-3 คืนถัดไป ไม่ว่าเราจะนอนน้อยเป็นประจำหรืออดนอนเป็นประจำแค่ไหน ร่างกายไม่มีวันชินหรือยอมรับให้นอนน้อยได้ตลอด เพราะเป็นการฝืนธรรมชาติการพักผ่อนที่ร่างกายต้องการ

ความเชื่อ : ง่วงหาวตอนกลางวันแสดงว่านอนไม่พอ
ข้อเท็จจริง : จริง สาเหตุของอาการง่วงหาวตอนกลางวันอาจมีส่วนหนึ่งมาจากการพักผ่อนที่ไม่เพียง พอ แต่ก็อาจเกิดกับคนที่นอนหลับเต็มอิ่มได้ด้วย และถ้าง่วงผิดสังเกตอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีเรื่องสุขภาพอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ร่างกายขาดการพักผ่อนอย่างเต็มที่ จำเป็นต้องไปปรึกษาแพทย์ต่อไป

ความเชื่อ : นอนน้อยมีผลต่อน้ำหนัก
ข้อเท็จจริง : จริง หากนอนหลับไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อระบบฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเลปตินและเกรลิน ส่งผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ฮอร์โมนทั้ง 2 ทำหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมและสร้างสมดุลความต้องการอาหาร ฮอร์โมนเกรลินถูกผลิตขึ้นในระบบทางเดินอาหาร มีหน้าที่กระตุ้นความอยากอาหาร ในขณะที่เลปตินถูกผลิตในเซลล์ไขมัน ทำหน้าที่ส่งสัญญาณรับรู้ว่าอิ่มไปยังสมอง เมื่อได้รับอาหารพอดีกับความต้องการ ดังนั้นหากนอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลทำให้ระดับเลปตินต่ำลง ร่างกายไม่รู้สึกอิ่มอย่างที่ควรจะเป็น ตรงกันข้ามฮอร์โมนเกรลินจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ร่างกายรับประทานอาหารเกินพอดี น้ำหนักก็เพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นการนอนหลับให้เพียงพอประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน เป็นการสร้างเสริมสุขภาพร่างกายที่ดีที่สุด

ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today

from thaihealth

Posted 10/27/2010 by thaiamulets in มุมสุขภาพ

โรคร้อน มาดูกัน   Leave a comment

ข้อมูลโดย : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, Updated: 22/03/2010

ว่าด้วย ‘โรค’ ร้อน!

ล่วง เข้าสู่ฤดูร้อน สภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ใครต่อใครไม่อยากพาตัวไปออกแดด หรืออยู่ในที่โล่งแจ้ง แต่สำหรับคนบางกลุ่มที่ต้องทำกิจกรรมหรือประกอบอาชีพท่ามกลางแสงแดด พึงรู้ไว้ว่า ร่างกายของคุณตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดกลุ่มโรคจากแดด

ว่าด้วย ‘โรค’ ร้อน!

หรือความร้อน ประกอบด้วย ตะคริวแดด เพลียแดด และลมแดด

เริ่ม รู้จักกับ ตะคริวแดด อาการขั้นเบา แต่ก็นำความเจ็บปวดมายังกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง ต้นขา ไหล่ และหลัง โดยเกิดจากการทำกิจกรมหรือออกกำลังกายกลางแดดจ้าเป็นระยะเวลานานจนมีเหงื่อ ออกมาก แต่ร่างกายกลับไม่ได้รับน้ำหรือเกลือแร่ทดแทนเหงื่อที่เสียไปในปริมาณที่ เพียงพอ ส่งผลให้กล้ามเนื้อกระตุก มีอาการเกร็ง และเป็นตะคริว

ส่วน ความอันตรายจากภัยร้อนที่หนักกว่าตะคริวแดด คือ เพลียแดด เพราะร่างกายสูญเสียน้ำมาก เหงื่อออกน้อยจนเกิดอาการปวดศีรษะ รู้สึกมึนงง ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรเบาแต่เร็ว ผิวหนังเย็นและชื้น บางรายมีอาการตะคริวแดดร่วมด้วย

และอาการซึ่งอันตรายที่สุด สามารถทำให้เสียชีวิตได้ คือ ลมแดด หรือฮีทสโตรก อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติเกิน 40 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะรู้สึกกระหายน้ำมาก ตัวร้อนจัด เพ้อหรือหมดสติ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลง ช็อค ผิวหนังแห้งและร้อน ระดับความรู้สึกตัวจะลดลง การทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว กระสับกระส่าย เอะอะ ก้าวร้าว หมดสติ เกร็ง ชัก ไม่มีเหงื่อออก

สาเหตุที่ร่างกายเกิดภาวะฮีทสโตรกเป็นเพราะขาด น้ำ ขาดเกลือแร่ ไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ทัน และส่งน้ำไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้

สำหรับผู้ที่มีโอกาส เสี่ยงเกิด 3 อาการที่มากับสภาพอากาศสุดร้อน นอกจากจะเป็นผู้ที่ออกไปอยู่กลางแจ้งแล้ว คนอ้วน ที่มีไขมัยเป็นฉนวนความร้อนทำให้ร่ายกายระบายความร้อนได้ช้า เด็กและคนชรา ที่ร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ดีเท่าคนหนุ่มสาว รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องกินยาควบคุมความดัน เช่น ยาขับปัสสาวะ และผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ จัดเป็นกลุ่มที่ควรระมัดระวังไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ เกลือแร่ เป็นพิเศษ
takecareDD@gmail.com

ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

Hello world!   1 comment

Welcome to health thai health

 

Posted 10/26/2010 by thaiamulets in Uncategorized